Gen Z ลุคใหม่ ความแปลกใหม่ของ แฟชั่น GEN Z
Gen Z ลุคใหม่ ในตอนนี้เป็นยุคของ GEN Z กันบ้างแล้ววันนี้ ข่าวบันเทิง ได้เล่าถึงพวกเค้า ที่ลุกขึ้นมา ทำอะไรหลาย ๆ อย่างที่พวกเราอาจจะ คาดไม่ถึงก็ได้ อย่างเช่นการมุ่งพัฒนาส่าหรี ซึ่งเป็นเสื้อผ้าที่ ต้องบอกว่า เป็นประเพณีอันดี ที่วันนี้กำลัง จะถูกตีความใหม่ถึง เรื่องราวที่น่าสนใจ และเติมเต็มให้กับ พลังของแฟชั่น ที่คงต้องเรียกว่า เป็นคลื่นลูกใหม่อย่าง ซินารา รัทนายาเกะ ได้ลุกขึ้นมาออกแบบ ชุดส่าหรีแนว การแต่งตัว gen z
เพราะชุดส่าหรี เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ต้องบอกว่า เคยเป็นประเพณีอันดี และสำคัญยิ่ง ต่อชีวิตของชาวเอเชียบางกลุ่ม ที่มีมาอย่างยาวนานแล้ว ซึ่งเสื้อผ้านี้ ได้ถูกมองว่าเป็นศูนย์รวม ของความงามแบบดั้งเดิม ในสไตล์ของผู้หญิง ๆ ที่มีมาอย่างช้านานแล้ว
Gen Z ลุคใหม่ เป็นแบบไหนกันนะ ส่าหรีที่สวมใส่ได้ทุกวัน
แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีคนหนุ่มสาว กำลังจะล้มล้าง แนวคิดนี้โดย ที่จะยึดประเพณีอันดี เกี่ยวกับผ้าส่าหรีออกมาทำ ไลฟ์สไตล์ gen z ให้ทำออกมาในรูปแบบ ที่ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น
คำว่าส่าหรี มาจากคำสันสกฤตว่า Sati ซึ่งหมายถึงแถบผ้า ที่มีความยาว แตกต่างกันตั้งแต่ 4 ถึง 9 หลา หรือประมาณ 3.6 ม.-8.2 ม.ซึ่งถ้าเป็นขนาดที่เรียกว่า มาตรฐานเลยก็อยู่ที่ราว ๆ หกหลาหรือ 5.5 ม.นั่นเอง เราก็มาย้อนถึงว่า อารยธรรมทาง ลุ่มแม่น้ำสินธุเมื่อราว 3200 ปีก่อนคริสตกาลถึง 2000 ปีก่อนคริสตกาล
ผู้คนส่วนใหญ่ จะสวมผ้ายาว แต่ต้องบอกว่า เสื้อผ้ามีวิวัฒนาการ ไปตามกาลเวลานะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อประเทศอยู่ภายใต้ การปกครองของอังกฤษ เพราะส่วนใหญ่ก็จะรับวัฒนธรรมของอังกฤษด้วย
ออกแบบให้หลากหลาย แต่ยังคงไว้ ซึ่งวัฒนธรรม
ที่ถึงแม้ว่าจะมี หลากหลายวิธี ในการประดับผ้าส่าหรี แต่ในตำราโบราณของเค้า ได้เขียนไว้ถึงการศึกษา ประวัติศาสตร์ของผ้าส่าหรีนิวี ซึ่งเป็นสไตล์ส่าหรี ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในปัจจุบัน
ในขณะที่ พวกแม่บ้านส่วนใหญ่ สวมใส่ส่าหรี โดยไม่เสื้อตัวใน ซึ่งเรื่องนี้ จนันดานันดินี หญิงสาวนักปฏิรูป ชาวเบงกาลี ที่อยู่ในสมัยของ อาณานิคมของอังกฤษ คิดว่ามันไม่ค่อย จะเหมาะสมเท่าไร เมื่ออยู่ในที่สาธารณะ เรื่องนี้เองทำให้เธอ ได้รับแรงบันดาลใจ และแถมได้ลูกยุจากเจ้าของที่พัก Parsi ในเมืองมุมใบปี 2407
ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น แฟชั่นใหม่ที่มีกระโปรงชั้นใน และมีเสื้อตัวในเพิ่มขึ้นมา สิ่งนี้เองทำให้ เกิดเป็นแฟชั่น ที่เรียกว่าสไตล์ nivi ที่จะมีปลายของส่าหรีด้านหนึ่ง ที่พันรอบเอว และอีกด้านปาดไหล่ซ้าย เป็นชายห้อยลงมา
เป็นการพัฒนา และปรับไปตามกาลเวลา
ซึ่งในช่วงแรก ๆ ของศตวรรษที่ 20 ส่าหรีรูปแบบนี้ ได้ปรากฏอยู่ในภาพ ของผู้หญิงที่อยู่ในขบวนการ ชาตินิยมของอินเดีย ซึ่งทำให้กลายเป็น ที่ดึงดูดสายตา ของสื่อมวลชน
ต่อมาใน Ancient Textile Series คือชุดหนังสือการฝีมือและผ้า ที่ทางผู้เขียนอย่าง Aarti Kawlra เค้าเขียนในบทความ Sari and the Narrative of Nation in 20th – Century India ว่าส่าหรีได้กลายเป็น สัญลักษณ์ของ อินเดีย
และได้กลายเป็น ภาพลักษณ์ของวัฒนธรรมเอเชียใต้ และเป็นความงาม ของผู้หญิงอีกด้วย ทำให้ส่าหรี ได้กลายเป็นศูนย์กลาง ของการเล่าเรื่อง ของชาตินิยม ตั้งแต่ช่วงต้น ของศตวรรษที่ 20 นั่นเองค่ะ
และสิ่งนี้ยังถูกใช้ ให้เป็นสิ่งที่สร้าง บุคลิกของหญิงสาวอินเดียที่ อยู่ภายใต้กรอบ ของบรรทัดฐานทางสังคม ที่มีการแบ่งแยกเพศ มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
จากนั้นมาส่าหรี ก็ได้กลายเป็นชุดสวย สำหรับสาวเอเชียใต้ ผู้ที่มีวัฒนธรรม และแนวความคิดที่ว่า ผู้หญิงที่สาวใส่ส่าหรี จะกลายเป็นหญิง ที่มีความสุภาพและเรียบร้อย มีความละเอียดอ่อนช้อย
แต่สำหรับนักมนุษย์วิทยาอย่าง Mukulika Banerjee เธอเป็นนักมนุษย์ และวิทยาสังคม ที่ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรม ว่าการสวมใส่ส่าหรี กับความงามของผู้หญิงนั้น มีความเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน และผู้หญิงจะเปลี่ยนไป หากสวมสำหรับ การแต่งงานด้วย และกลายเป็นเสื้อผ้า ที่เป็นลักษณะ ของผู้หญิงโดยเฉพาะ
สำหรับสตรี ที่แต่งงานแล้ว ส่าหรีได้กลายเป็น เครื่องแต่งกายที่จำเป็น มากกว่าความเป็นแฟชั่น เพราะพวกเขามีส่าหรี สวมใส่ที่บ้าน ใส่ไปตลาดหรือแม้แต่ไปวัด และมีชุดส่าหรี ที่หรูหรามากขึ้น สำหรับงานพิธี และโอกาสที่สำคัญ ๆ อย่างเช่นงานแต่งงานเป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจจะกล่าวได้ว่า สตรีในเมืองส่วนใหญ่ มีความเชื่ออย่างแรงกล้า ว่าผ้าส่าหรี อาจจะมีข้อจำกัด และยุ่งยากมาก ถึงมากที่สุด สำหรับการสวมใส่ ซึ่งบางคนได้บอกว่า เธอรักส่าหรีมากนะ แต่จะไม่ยอมสวม เพื่อจะเดินทางอย่างแน่นอน เพราะคนส่วนใหญ่ คิดว่าเมื่อสวมใส่แล้ว ทำให้การเคลื่อนไหว เป็นไปได้ยากและไม่สะดวก
ซึ่งแต่ละคน ไม่ปฏิเสธว่า เป็นสิ่งที่แสดงออก ถึงความเป็นสตรี ที่ต้องบอกว่า เหมาะกับสตรี ที่ผอมบางและหุ่นดีมากกว่า
ส่าหรีแนวใหม่ ที่ทุกคนต้องอ้าปากค้าง แน่นอน
บรรดาพวกหนุ่มสาว Gen Z ที่พวกเค้าไม่ได้เติบโตมา โดยที่เห็นแม่ของเค้า สวมใส่ส่าหรี ทุกวันก็ตาม แต่ส่าหรีก็ยังเป็น ชุดที่สวมใส่ ในโอกาสต่าง ๆ คงอาจจะเหมือน ผ้าไหมผ้าไทยบ้านเราไหมนะ
ที่ถึงแม้เป็น ชุดประจำชาติ แต่ก็ไม่คิดจะสวม ทุกวันอย่างแน่นอน นี่เองเลยเป็นจุดเริ่มต้น พี่พวกเค้าพากันคิด ว่าจะทำอย่างไร ที่จะให้ส่าหรี มีความทันสมัย มากขึ้นกว่าการแต่งกาย แบบดั้งเดิม ที่ดูแล้วน่าเบื่อ
ในเมื่อหลาย ๆ อย่างที่เป็นวัฒนธรรมรุ่นเก่า ยังพัฒนาให้มีความว้าว!! ได้เลย แล้วทำไมจะทำให้ส่าหรี มีความว้าว!!! บ้างไม่ได้ และคิดว่ามัน จะเยี่ยมยอดขนาดไหนกัน ทำให้เราได้เห็น พฤติกรรมของ generation z ซึ่งเมื่อพวกเธอ ได้เริ่มต้นที่จะ พัฒนาส่าหรี เพื่อเป็นเสื้อผ้า ที่สวมง่ายและสามารถ ใส่ได้เป็นประจำทุกวัน
ก็ได้มีการ โฆษณาออกไป และได้ผลตอบรับ กลับมาเป็นอย่างดี และส่วนใหญ่ ที่สั่งกันเข้ามา มักจะเป็นสาว generation z ช่วงอายุ 18 – 34 ปีแค่นั้นและยังมีมากกว่า 18% ที่เป็นคำสั่งซื้อ จากต่างประเทศ ที่ไม่ใช่ลูกค้า ที่อยู่ในแถบเอเชียใต้อีกด้วย
และถ้าคุณได้เห็น ส่าหรีพิมพ์ลาย ก็ไม่ต้องแปลกใจแล้วนะคะ เพราะว่ารุ่นใหม่ เค้าออกแบบกัน ให้มีความหลากหลาย นอกจากจะมีความเรียบ แล้วยังมีแบบกุ๊กกิ๊กหวานแหวว และคาดว่าอีกไม่นาน น่าจะเป็นลาย ที่นิยมกันอยู่ทั่วไป เป็นส่าหรีออกมา ตีตลาดเสื้อผ้าบ้านเรา ก็เป็นได้ค่ะ
หากต้องการติดต่อเราโดยตรง สามารถติดต่อได้ที่
เรียบเรียงโดย NANAMI